บริการพินัยกรรม

 

 

 เชิญปรึกษาการจัดทำพินัยกรรม โดยทนายยิ้ม                        ขอคำแนะนำ ร่าง/จัดทำพินัยกรรม                                    บริการร่าง/จัดทำพินัยกรรม                                                ติดต่อ 083-144-8765

 

 

หลักทั่วไปในการทำพินัยกรรม

    โดยปกติแล้วเมื่อผู้ใดเสียชีวิตลง มรดกของบุคคลนั้นย่อมจะตกแก่ทายาท เช่น บิดา มารดา บุตร สามี หรือภรรยา เป็นต้น แต่ถ้าก่อนที่บุคคลนั้นจะเสียชีวิตลงเขาอาจจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของเขาให้แก่ผู้ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นว่าบุคคลที่มีสิทธิรับพินัยกรรมจะต้องเป็นทายาทเสมอไป
     การทำพินัยกรรม เป็นเรื่องที่เจ้ามรดกประสงค์จะให้ทรัพย์สินของตนตกแก่ใครเมื่อตนตายไปแล้ว แตกต่างกับเจ้ามรดกจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่นในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น การยกทรัพย์สินของเจ้ามรดกให้แก่ผู้ใด เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า พินัยกรรม ทั้งนี้ ต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

 

1. ลักษณะของพินัยกรรม
    พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในเรื่องต่างๆ ที่จะเป็นผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาที่ประสงค์ให้มีผลเมื่อตนเองตายไปแล้ว ซึ่งจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดก็ได้ หรือให้ผู้ใดเข้ามาจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของตนก็ได้ แต่จะทำให้พินัยกรรมนั้นมีผลบังคับไปถึงทรัพย์สินของผู้อื่นที่มิใช่ของตนนั้น ย่อมทำไม่ได้ 
     การพิจารณาว่าเป็นพินัยกรรมหรือไม่ ต้องมีข้อความกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของผู้ตายว่าให้ตกเป็นของผู้ใด หรือให้จัดการอย่างไรเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายไปแล้ว หากมีข้อความดังกล่าวก็เป็นพินัยกรรมโดยไม่ต้องระบุว่าเป็นพินัยกรรม
     การทำพินัยกรรมอาจไม่ใช่เรื่องการยกทรัพย์สินให้ผู้ใดก็ได้ แต่อาจเป็นเรื่องอื่นๆ ที่ ให้มีผลตามกฎหมายก็ได้ เช่น เมื่อตนเองตายไปแล้วขอยกปอดให้แก่โรงพยาบาลศิริราช หรือให้จัดงานศพของตนอย่างง่ายๆ ดังนี้ก็เป็นพินัยกรรมเช่นกัน

 

2. ข้อพิจารณาในการทำพินัยกรรม
    ผู้ที่ทำพินัยกรรมได้จำต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิตามกฏหมายในการทำพินัยกรรม หากมีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือเป็นบุคคลที่ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถแล้ว ก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ หากฝ่าฝืนทำพินัยกรรมขึ้นมาผลก็คือพินัยกรรมนั้นใช้ไม่ได้ (พินัยกรรมนั้นไม่มีผล) หรือตามกฎหมายเรียกว่า "เป็นโมฆะ" 

 

3. แบบพินัยกรรม
    การทำพินัยกรรมนั้น ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด พินัยกรรมมีอยู่ 6 แบบด้วยกันคือ
    1) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
    2) พินัยกรรมแบบธรรมดา
    3) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
    4) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ซึ่งจะต้องไปทำต่อหน้านายอำเภอ
    5) พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ซึ่งจะทำพินัยกรรมแบบนี้ได้นั้นต้องมีพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นๆ ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย มีโรคระบาด หรือมีการทำสงครามกันอยู่ เป้นต้น 
    6) พินัยกรรมทำในต่างประเทศ และพินัยกรรมทำในภาวะการรบหรือสงคราม
    ทั้งนี้ พินัยกรรมแต่ละแบบมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเลือกทำตามแบบใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจ แต่ต้องไม่ลืมว่าข้อความในพินัยกรรมต้องเป็นเรื่องกำหนดการเผื่อตายเอาไว้และมีข้อความเป็นพินัยกรรม และต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมด้วย

 

Visitors: 81,407